Privacy, Safety, and Policy Hub

ขอแนะนำดัชนีความเป็นอยู่ทางดิจิทัล 

กุมภาพันธ์ 2566

ที่ Snap ไม่มีอะไรที่จะสำคัญไปกว่าความปลอดภัยและความเป็นอยู่ของสังคม Snapchatเรามีการเตรียมพร้อมนโยบายและกฎระเบียบที่บังคับใช้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงถึงรายละเอียดประเภทของเนื้อหาและความประพฤติที่ยอมรับได้บน Snapchatเราให้เครื่องมือและแหล่งข้อมูลที่ช่วยเหลือ Snapchatter ให้ได้รับความปลอดภัย และเราเชิญชวนผู้อื่นจากอุตสหากรรมและหน่วยงานทางเทคโนโลยีให้มีส่วนร่วมในการปกป้องให้ดียิ่งขึ้นแก่ผู้ใช้วัยรุ่นและเยาวชนโดยเฉพาะ

เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีการท่องโลกอินเตอร์เน็ตของวัยรุ่นและคนหนุ่มสาว เราได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับความเป็นอยู่ทางดิจิทัลของกลุ่มเจเนอเรชั่น Zการวิจัยวัยรุ่น (อายุ 13-17), หนุ่มสาว (อายุ 18-24) และผู้ปกครองของวัยรุ่น อายุ 13 ถึว 19 ในหกประเทศ: ออสเตรเลีย, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อินเดีย, สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกาการวิจัยได้ผลิตดัชนีความเป็นอยู่ทางดิจิทัล (DWBI): การวัดวามเป็นอยู่ในด้านจิตใจทางออนไลน์ของกลุ่มเจเนอเรชั่น Z


รายละเอียด DWBI สำหรับปี 2565

ดัชนีความเป็นอยู่ทางดิจิทัลแรกของหกภูมิภาคนั้นอยู่ที่ 62 คะแนน และอยู่ในระดับปานกลางจากระดับ 0 ถึง 100 ซึ่งหมายความว่าผลลัพธ์นั้นไม่มีผลดีที่เฉพาะเจาะจงหรือมีผลเสียที่น่าเป็นห่วงสำหรับรายละเอียดแต่ละประเทศนั้น อินเดียนั้นได้รับคะแนน DWBI ที่สูงที่สุดที่ 68 คะแนน และฝรั่งเศสและเยอรมนีนั้นมีค่าเฉลี่ยที่ต่ำสุดในหกประเทศที่ 60 คะแนนเท่ากัน DWBI ของออสเตรเลียนั้นอยู่ที่ 63 คะแนน สหราชอาณาจักรที่ 62 คะแนน และสหรัฐอเมริกาที่ 64 คะแนน

ดัชนีนี้แสดงผลลัพธ์ที่มีประโยชน์กว่าโมเดล PERNA ซึ่งเป็นเครื่องมือการวิจัยอีกรูปแบบหนึ่งที่ประกอบด้วยการแสดงความคิดเห็น 20 ความคิดเห็นต่อห้าหัวข้อนี้: ความรู้สึกที่เป็นบวก (Positive Emotion),การมีส่วนร่วม (Engagement), ความสัมพันธ์(Relationships), ความรู้สึกที่เป็นลบ(Negative Emotion) และ ผลงาน (Achievement)ผู้ตอบคำถามวิจัยจะได้รับการถามเกี่ยวกับระดับความเห็นด้วยต่อ 20 ประโยคบอกเล่า โดยขึ้นอยู่กับประสบการณ์ทางออนไลน์ของผู้ตอบบนอุปกรณ์หรือแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (นอกเหนือ Snapchat) ในช่วงระยะเวลาสามเดือน(การวิจัยจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน ถึง 10 พฤษภาคม 2565)ตัวอย่างของประโยคบอกเล่าในแต่ละหัวข้อทั้งหมดมีดังนี้สำหรับรายการเต็มของการบอกเล่าความรู้สึกที่ใช้ DWBI ทั้ง 20 ข้อความ กรุณาดูที่ลิงก์นี้

บทบาทของโซเชียลมีเดีย

คะแนน DWBI นั้นคือการคำนวณของผู้ที่ตอบแต่ละรายโดยอ้างอิงจาก 20 การแสดงความคิดเห็นคะแนนเหล่านี้จะถูกรวมเป็น DWBI สี่กลุ่ม : เฟื่องฟู (10%) เจริญรุ่งเรือง (43%) ปานกลาง (40%) และติดขัด (7%)(โปรดดูด้านล่างสำหรับรายละเอียด) 



ไม่เป็นที่น่าแปลกใจนักที่การวิจัยนี้จะแสดงให้เห็นว่าโซเชียลมีเดียมีบทบาทหลักในความเป็นอยู่ทางดิจิทัลของกลุ่มคนเจน Z โดยมีการแสดงความคิดเห็นของผู้ตอบมากกว่าสามในสี่ (78%) ที่ระบุว่าโซเชียลมีเดียนั้นมีอิทธิพลในแง่บวกต่อคุณภาพความเป็นอยู่ของพวกเขาความเชื่อดังกล่าวนี้มีความหนักแน่นมากในหมู่วัยรุ่น (84%) และเพศชาย (81%) เมื่อเทียบกับกลุ่มหนุ่มสาวเจเนอเรชั่น Z (71%) และเพศหญิง (75%)ความคิดเห็นของผู้ปกครอง (73%) เกี่ยวกับอิทธิพลของโซเชียลมีเดียนั้นมีความแตกต่างเล็กน้อยจากกลุ่มเจเนอเรชั่น Zกลุ่มที่เฟื่องฟูนั้นมีความเห็นว่าโซเชียลมีเดียมีอิทธิพลในแง่บวกต่อชีวิตของพวกเขา (95%) ในขณะที่กลุ่มที่มีความติดขัดนั้นเห็นว่ามีผลในแง่บวกน้อยกว่า (43%)มากกว่าหนึ่งในสาม (36%) ของกลุ่มที่เฟื่องฟูนั้นเห็นด้วยกับประโยคที่ว่า "ฉันไม่สามารถใช้ชีวิตได้โดยไม่มีโซเชียลมีเดีย" ในขณะที่ 18% ของผู้ที่มีความติดขัดนั้นเห็นด้วยเปอร์เซ็นต์เหล่านี้มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดสำหรับประโยคที่ตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิงคือ "โลกเราจะน่าอยู่ยิ่งกว่าถ้าไม่มีโซเชียลมีเดีย"(เฟื่องฟู: 22%, ติดขัด: 33%).   


ผลลัพธ์หลักอื่น ๆ

การวิจัยความเป็นอยู่ทางดิจิทัลของเรานั้นยังค้นพบถึงประเด็นที่น่าสนใจอื่น ๆด้านล่างคือส่วนหนึ่งของไฮไลต์สามารถดูรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่

  • ความเป็นอยู่ทางดิจิทัลนั้นมีความสอดคล้องอย่างมากกับลักษณะและคุณภภาพของการโต้ตอบทางออนไลน์ น้อยกว่าความสอดคล้องเกี่ยวกับระยะเวลาที่ใช้งานโซเชียลมีเดีย

  • ความเสี่ยงส่วนบุคคล (เช่น การกลั่นแกล้ง, ความเสี่ยงทางเพศ) นั้นมีความเกี่ยวข้องมากกว่าต่อความเป็นอยู่ ในขณะที่ความเสี่ยง "ทั่วไป" (เช่น การสวมบทบาท, การให้ข้อมูลเท็จ) นั้นมีความเกี่ยวข้องน้อยกว่า

  • ผู้ปกครองนั้นมีบทบาทที่สำคัญกับความเป็นอยู่ทางดิจิทัลของบุตรวัยรุ่นของตนเองในความเป็นจริง วัยรุ่นที่มีผู้ปกครองคอยตรวจสอบการใช้งานออนไลน์และกิจกรรมทางโซเชียลมีเดียของพวกเขาอย่างสม่ำเสมอนั้นมีความเป็นอยู่ทางดิจิทัลที่ดีกว่า และสามารถรักษาความเชื่อใจระหว่างผู้ปกครองได้สูงกว่าในทางกลับกัน อีกกลุ่มที่ผู้ปกครองไม่มีการตรวจสอบการใช้งานทางดิจิทัลของบุตรวัยรุ่นนั้นมักมีความชะล่าใจต่อสิ่งที่บุตรหลานวัยรุ่นอาจได้รับผ่านทางดิจิทัล (ต่างกันเกือบ 20 คะแนน)

  • ไม่เป็นที่น่าแปลกใจหากกลุ่มเจเนอเรชั่น Z ที่มีเครือข่ายสนับสนุนอย่างแน่นแฟ้นนั้นจะมีแนวโน้มที่จะจัดอยู่ในกลุ่มเฟื่องฟู หรือก้าวหน้าทางดิจิทัล ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนน้อยกว่านั้นจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความติดขัดหรือปานกลางกลุ่มการสนับสนุนคือผู้คนที่อยู่ในชีวิตของหนุ่มสาว ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง, ผู้ดูแล, ครู หรือผู้ใหญ่และเพื่อนที่น่าเชื่อถือ ผู้ที่มีความห่วงใยต่อพวกเขา และรับฟังหรือเชื่อว่าพวกเขาจะประสบความสำเร็จ


คนหาแหล่งข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงสำหรับแต่ละประเทศเพิ่มเติมเกี่ยวกับดัชนีความเป็นอยู่ทางดิจิทัลได้ที่ด้านล่าง:


ชุด DWBI - ภาษาอังกฤษบริทิช 

ชุด DWBI - ภาษาอังกฤษ

ชุด DWBI - ภาษาฝรั่งเศส

ชุด DWBI - ภาษาเยอรมัน

อินโฟกราฟิก DWBI - ทั่วโลก 

อินโฟกราฟิก DWBI - ออสเตรเลีย

อินโฟกราฟิก DWBI ฝรั่งเศส (FR)

อินโฟกราฟิก DWBI - เยอรมนี (DE)

อินโฟกราฟิก DWBI - อินเดีย

อินโฟกราฟิก DWBI - สหราชอาณาจักร

อินโฟกราฟิก DWBI - สหรัฐอเมริกา