ขอแนะนำดัชนีความเป็นอยู่ที่ดีทางดิจิทัล
6 กุมภาพันธ์ 2566
ขอแนะนำดัชนีความเป็นอยู่ที่ดีทางดิจิทัล
6 กุมภาพันธ์ 2566
วันนี้ถือเป็นวันอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยมากขึ้น (SID) ที่ในทุกเดือนกุมภาพันธ์ ทั่วโลกได้ร่วมกันโปรโมทการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ ภายในธีมปี 2566: "ร่วมกันทำให้อินเทอร์เน็ตดีขึ้น (Together for Better Internet)" ในโอกาสครบรอบ 20 ปีของ SID นี้ เราได้เผยแพร่ดัชนีความเป็นอยู่ที่ดีทางดิจิทัลแรกของเรา (DWBI) ซึ่งเป็นมาตรฐานการวัดความเป็นอยู่ที่ดีด้านจิตใจทางออนไลน์ของกลุ่มเจเนอเรชั่น Z
เพื่อได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีการท่องโลกอินเทอร์เน็ตของวัยรุ่นและคนหนุ่มสาว บนแพลตฟอร์มและอุปกรณ์ทั้งหมด และให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ศูนย์ครอบครัว ที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ เราได้ทำการสำรวจจากประชากรมากกว่า 9,000 รายในสามกลุ่มอายุ ของหกประเทศ เมื่อดึงข้อมูลตั้งแต่สี่สิบปีก่อนของการวิจัยความเป็นอยู่ที่ดีเฉพาะ และปรับใช้กับสภาพแวดล้อมออนไลน์ในปัจจุบัน เราได้ปรับแก้ดัชนี DWB โดยอ้างอิงจากการให้ข้อมูลจากกลุ่มวัยรุ่น (อายุ 13-17 ปี), กลุ่มคนหนุ่มสาว (อายุ 18-24 ปี) และผู้ปกครองของกลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุ 13-19 ปี ในประเทศออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เราได้สอบถามถึงการรับความเสี่ยงทางออนไลน์ต่างๆ ของกลุ่มหนุ่มสาว และรวมกับคำตอบอื่นๆ ทำให้สามารถคำนวณดัชนี DWB ของแต่ละประเทศ และจากนั้นรวบรวมคะแนนของทั้งหกประเทศ
ผลสรุป DWBI แรก
ดัขนีความเป็นอยู่ที่ดีทางดิจิทัลที่หนึ่งสำหรับหกภูมิภาคนั้นอยู่ที่ 62 ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยจากระดับ 0 ถึง 100 เมื่อดูแต่ละประเทศ อินเดียมีคะแนน DWBI สูงสุดที่ 68 และฝรั่งเศสและเยอรมนีเฉลี่ยอยู่ที่ 60 เท่ากันซึ่งอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยจากหกประเทศ DWBI ของออสเตรเลียนั้นอยู่ที่ 63 และคะแนนของสหราชอาณาจักรนั้นตรงกับคะแนนเฉลี่ยของทั้งหกประเทศคือ 62 และสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 64 คะแนน
ดัชนีดังกล่าวใช้รูปแบบของ PERNA ซึ่งแตกต่างไปจากทฤษฎีความเป็นอยู่ที่ดีที่มีอยู่1ซึ่งประกอบด้วยข้อความเกี่ยวกับแนวความคิด 20 ข้อความในห้าหมวดหมู่ดังนี้ Positive Emotion (อารมณ์เชิงบวก), Engagement (การมีส่วนร่วม), Relationships (ความสัมพันธ์), Negative Emotion (อารมณ์เชิงลบ) และ Achievement (ความสำเร็จ) โดยคำนึงถึงประสบการณ์ทางออนไลน์ทั้งหมดของพวกเขาบนอุปกรณ์ หรือแอปใดๆ ที่ไม่ใช่เพียงแค่ Snapchat ในช่วงสามเดือนก่อนหน้านี้2มีการขอให้ผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าเห็นด้วยกับข้อความทั้ง 20 ข้อความมากน้อยเพียงใด ตัวอย่างเช่น ภายใต้หัวข้อการมีส่วนร่วม หนึ่งประโยคบอกเล่ากล่าวคือ: "จดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำออนไลน์จนลืมสิ่งรอบข้าง" และภายใต้หัวข้อความสัมพันธ์: "มีความพึงพอใจต่อความสัมพันธ์ออนไลน์ของฉันมาก" (สำหรับรายการเต็มของประโยคบอกเล่า DWBI โปรดดูที่ลิงก์นี้)
บทบาทของโซเชียลมีเดีย
คะแนน DWBI คำนวณสำหรับผู้ที่ตอบคำถามนั้นขึ้นอยู่กับระดับความเห็นด้วยกับประโยคบอกเล่าความรู้สึก 20 ประโยคนี้ คะแนนเหล่านี้จะถูกรวมเป็น DWBI สี่กลุ่ม : เจริญก้าวหน้า (10%) เติบโต (43%) กลางๆ (40%) และต่อสู้ดิ้นรน (7%) (โปรดดูที่แผนภูมิและกราฟด้านล่างสำหรับรายละเอียด)
ไม่เป็นที่น่าแปลกใจนักที่การวิจัยนี้จะแสดงให้เห็นว่าโซเชียลมีเดียมีบทบาทหลักในความเป็นอยู่ที่ดีทางดิจิทัลของกลุ่มคนเจน Z โดยมีการแสดงความคิดเห็นของผู้ตอบมากกว่าสามในสี่ (78%) ที่ระบุว่าโซเชียลมีเดียนั้นมีอิทธิพลในแง่บวกต่อคุณภาพความเป็นอยู่ของพวกเขา ความเชื่อดังกล่าวนี้มีความหนักแน่นมากในหมู่วัยรุ่น (84%) และเพศชาย (81%) เมื่อเทียบกับกลุ่มหนุ่มสาวเจเนอเรชั่น Z (71%) และเพศหญิง (75%) ความคิดเห็นของผู้ปกครอง (73%) เกี่ยวกับอิทธิพลของโซเชียลมีเดียนั้นมีความแตกต่างเล็กน้อยจากกลุ่มเจเนอเรชั่น Z กลุ่มเจริญก้าวหน้าในกลุ่ม DWBI นั้นมีความเห็นว่าโซเชียลมีเดียมีอิทธิพลในแง่บวกต่อชีวิตของพวกเขา (95%) ในขณะที่กลุ่มต่อสู้ดิ้นรนนั้นเห็นว่ามีผลในแง่บวกน้อยกว่า (43%) มากกว่าหนึ่งในสาม (36%) ของกลุ่มเจริญก้าวหน้านั้นเห็นด้วยกับประโยคที่ว่า "ฉันไม่สามารถใช้ชีวิตได้โดยไม่มีโซเชียลมีเดีย" ในขณะที่ 18% ของกลุ่มต่อสู้ดิ้นรนนั้นเห็นด้วย เปอร์เซ็นต์เหล่านี้มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดสำหรับประโยคที่ตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิงคือ "โลกเราจะน่าอยู่ยิ่งกว่าถ้าไม่มีโซเชียลมีเดีย" (กลุ่มเจริญก้าวหน้า: 22% เห็นด้วย, กลุ่มต่อสู้ดิ้นรน: 33%)
การให้ข้อมูลศูนย์ครอบครัว
คำถามสำหรับผู้ปกครองรวมถึงการให้ประเมินระดับการเข้าถึงความเสี่ยงทางออนไลน์ของบุตรหลานวัยรุ่นของตน และผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าผู้ปกครองมีความเห็นตรงกับความเป็นอยู่ที่ดีทางออนไลน์ของบุตรหลานวัยรุ่นของตน ในความเป็นจริง วัยรุ่นที่มีผู้ปกครองคอยตรวจสอบการใช้งานออนไลน์และกิจกรรมทางโซเชียลมีเดียของพวกเขาอย่างสม่ำเสมอนั้นมีความเป็นอยู่ที่ดีทางดิจิทัลที่ดีกว่า และสามารถรักษาความเชื่อใจระหว่างผู้ปกครองได้สูงกว่า ในทางกลับกัน อีกกลุ่มที่ผู้ปกครองไม่มีการตรวจสอบกิจกรรมทางดิจิทัลของบุตรวัยรุ่นนั้นมักมีความชะล่าใจต่อสิ่งที่บุตรหลานวัยรุ่นอาจได้รับผ่านทางดิจิทัล (ต่างกันเกือบ 20 คะแนน) โดยเฉลี่ย 62% ของวัยรุ่น (อายุ 13-19 ปี) บอกเล่าผู้ปกครองของตนหลังจากที่พบกับความเสี่ยงทางออนไลน์ อย่างไรก็ตาม ยิ่งความเสี่ยงที่พบนั้นมีระดับความรุนแรง กลุ่มวัยรุ่นจะยิ่งหลีกเลี่ยงการบอกเล่าให้กับผู้ปกครอง
ข้อมูลนี้และการวิจัยอื่นที่ใช้เพื่อให้ข้อมูลพัฒนาศูนย์ครอบครัวใหม่ของ Snap ชุดฟีเจอร์ที่ให้ผู้ปกครอง ผู้ดูแล และผู้ใหญ่ที่เชื่อถือได้นั้นได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผู้คนที่กลุ่มวัยรุ่นสื่อสารด้วยบน Snapchat เปิดตัวทั่วโลกเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2566 ศูนย์ครอบครัวนั้นให้ผู้ปกครองดูรายชื่อเพื่อนของวัยรุ่น และประวัติผู้ที่สื่อสารด้วยในระยะเจ็ดวันก่อนหน้า ในขณะที่สามารถเคารพความเป็นส่วนตัวและอิสระแก่กลุ่มวัยรุ่นดังกล่าวโดยการเก็บเนื้อหาของข้อความเป็นความลับ ศูนย์ครอบครัวสนับสนุนให้ผู้ปกครองที่ดูแลบุตรหลานรายงานบัญชีที่น่าเป็นห่วงหากพบเจอ ฟีเจอร์ใหม่ของศูนย์ครอบครัวกำลังจะมาเร็วๆ นี้
จุดประสงค์หลักของศูนย์ครอบครัวคือออกแบบมาเพื่อริเริ่มการสนทนาที่มีความหมายระหว่างกลุ่มวัยรุ่นและผู้ปกครอง ผู้ดูแล หรือผู้ใหญ่ที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับการอยู่ในโลกออนไลน์อย่างปลอดภัย และการรักษาความเป็นอยู่ที่ดีทางดิจิทัล คงไม่มีเวลาใดที่จะเริ่มการสนทนาเรื่องนี้อย่างจริงจังได้เหมาะสมไปกว่าวันอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยมากขึ้น!
- Jacqueline Beauchere หัวหน้าความปลอดภัยของแพลตฟอร์มสากล
การวิจัยความเป็นอยู่ที่ดีทางดิจิทัลของเราทำให้ค้นพบเกี่ยวกับการเข้าถึงความเสี่ยงทางออนไลน์ของเจเนอเรชั่น Z ความสัมพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ปกครอง และความเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมออนไลน์ในช่วงเดือนก่อนหน้าที่ผ่านมา ยังมีอีกหลายปัจจัยเกี่ยวกับการวิจัยซึ่งมากกว่าที่เราจะสามารถแชร์ได้ในโพสต์บล็อกเพียงโพสต์เดียว สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดัชนีความเป็นอยู่ที่ดีทางดิจิทัลและการวิจัย โปรดดูที่เว็บไซต์ของเรา และคำอธิบายนี้ การรวบรวมของประเด็นหลักที่ค้นพบในการวิจัย ผลสรุปการวิจัยฉบับเต็ม และอินโฟกราฟิกของแต่ละหกประเทศ: ออสเตรเลีย, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อินเดีย, สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา